อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา (Ta Phraya) ที่เที่ยวบุรีรัมย์ เทือกเขาพนมดงรัก

ที่เที่ยวบุรีรัมย์
admin2
Hero Member
Hero Member
Posts: 4595
Joined: Wed Apr 16, 2014 8:00 pm
Thailand

อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา (Ta Phraya) ที่เที่ยวบุรีรัมย์ เทือกเขาพนมดงรัก

ข้อมูลby admin2 » Mon May 02, 2016 1:37 pm

อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา (Ta Phraya) ที่เที่ยวบุรีรัมย์ เทือกเขาพนมดงรัก
Image
อุทยานแห่งชาติตาพระยาเป็นส่วนหนึ่งในเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกยาวไปทางทิศตะวันตก ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 5 ลิบดาเหนือถึง 14 องศา 22 ลิบดาเหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิบดาตะวันออก ถึง 103 องศา 14 ลิบดาตะวันออก หรือบริเวณของด้านทิศใต้ของที่ราบสูงโคราช มีเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 371,250 ไร่ หรือ 594 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมเนื้อที่ 2 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว และบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 380 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา

ความเป็นมา : เนื่องด้วยกรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากกองทัพภาคที่ 1 ขอให้พิจารณาประกาศจัดตั้งป่าบริเวณเทือกเขาบรรทัด รอยต่อ 3 จังหวัด คือ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้วจึงให้นายอภิศักดิ์ จัตตุพรพงษ์ นักวิชาการป่าไม้ 5 ปฎิบัติงานประจำอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในขณะนั้น ไปดำเนินการสำรวจ และจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าตาพระยา ป่าดงใหญ่ ป่าบ้านกรวด แปลงที่ห้า และป่าใกล้เคียง ในท้องที่จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1640/2534 ลงวันที่ 2 กันยายน 2534

เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต (ปี 2515 - 2531) เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอย่างรุนแรง เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากจนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 ใช้การเมืองนำการทหารจนกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยอมเข้ามอบตัว แปรสภาพฐานะเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยในที่สุดความสงบสุขในพื้นที่แห่งนี้จึงกลับมาเยือนอีกครั้ง

อุทยานแห่งชาติตาพระยาได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าบ้านกรวด แปลงที่ห้า และป่าดงใหญ่ ในท้องที่ตำบลบึงเจริญ ตำบลจันทบเพชร ตำบลสายตะกู ตำบลหนองไม้งาม ตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด ตำบลโนนดินแดง ตำบลลำนางรอง กิ่งอำเภอโนนดินแดง อำเภอละหานทราย ตำบลสำโรงใหม่ ตำบลหนองแวง ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ และป่าตาพระยา ในท้องที่ตำบลทัพราช ตำบลทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 65 ก ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2539 เป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 82

ขนาดพื้นที่
371250.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติตาพระยา
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ตย.1 (ทัพไทย)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ตย.2 (โนนดินแดง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ตย.3 (อ่างเมฆา)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ตย.4 (กลางดง)

สถานที่ติดต่อ : ตู้ ปณ.9 ปท.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ 31260
โทรศัพท์ : 0 3724 7933,081 178 8119
โทรสาร : 0 3724 7932

admin2
Hero Member
Hero Member
Posts: 4595
Joined: Wed Apr 16, 2014 8:00 pm
Thailand

Re: อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา (Ta Phraya) ที่เที่ยวบุรีรัมย์ เทือกเขาพนมดงรัก

ข้อมูลby admin2 » Mon May 02, 2016 1:37 pm

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติตาพระยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีลักษณะพื้นที่ค่อนข้างยาว วางตัวในแนวทิศตะวันตก–ตะวันออก จากเทือกเขาบรรทัดจนไปถึงเทือกเขาพนนมดงรัก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 206–579 เมตร ความลาดชันเฉลี่ยทั้งพื้นที่ร้อยละ 35 ยอดเขาที่สูงที่สุดในบริเวณอุทยานแห่งชาติตาพระยาอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ได้แก่เขาพรานนุช ซึ่งสูง 579 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทางด้านเหนือของเทือกเขาบรรทัดมีลักษณะลาดยาวไปทางทิศเหนือ ส่วนทางด้านใต้เป็นผาชัน ลงไปสู่ที่ราบต่ำ
จากลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว จึงมีลำน้ำลำห้วยหลายสายไหลจากเทือกเขาในอุทยานแห่งชาติไปทางด้านทิศเหนือ ได้แก่ ลำนางรอง ลำจังหัน ลำปะเทีย ห้วยซับกระโดน (ไหลลงลำนางรอง) ห้วยตรุมะเมี่ยง และห้วยแห้ง (ไหลลงลำจังหัน) ห้วยหิน ห้วยดินทราย และห้วยนาเหนือ (ไหลลงลำปะเทีย) รวมทั้งห้วยพลู ห้วยเมฆา ห้วยโอบก และห้วยไฟไหม้ และมีลำน้ำที่ไหลจากทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติไปทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติ 1 สายหลัก ได้แก่ ลำสะโตน

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของภูมิภาคนี้ อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ความชุ่มชื้นจะถูกพัดพามาจากทะเลอันดามันและอ่าวไทย จนทำให้พื้นที่บริเวณนี้ได้รับปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อเดือนวัดได้ระหว่าง 100 มิลลิเมตร ถึง 140 มิลลิเมตร ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เทือกเขาพนมดงรักจะปะทะกับลมมรสุม และทำให้ฝนตกในบริเวณด้านที่รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม ฤดูกาลมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูงสุดประมาณ 39.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 14.3 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตามปริมาณฝนในพื้นที่ยังขึ้นอยู่กับว่าอยู่ทางทิศใดของเทือกเขาพนมดงรักด้วย หากอยู่ในแนวปะทะของเทือกเขาพนมดงรักจะทำให้ฝนตกในบริเวณด้านที่รับลมมากกว่าด้านไม่รับลม สำหรับฤดูหนาวเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิ เท่ากับ 24.9-27.7 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า
ลักษณะทางพืชพรรณ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยามีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 77 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 300,000 ไร่ ซึ่งยังไม่รวมพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้าและไม้เล็กๆโดยได้จำแนกพื้นที่ป่าออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
1. ป่าดิบชื้น กระจายอยู่บริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 49 ของพื้นที่ป่าไม้ ชนิดพรรณไม้ที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้ในวงศ์ไม้ยาง เช่น ยางกล่อง ยางขน ยางเสียน ทะโล้ เป็นต้น
2. ป่าดิบแล้ง พบกระจายในพื้นที่ราบทางด้านทิศตะวันตกและด้านใต้ ส่วนทางด้านตะวันออกพบกระจายอยู่เล็กน้อย มีพื้นที่ร้อยละ 20 ของพื้นที่ป่าไม้ ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง ยางนา ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง ตะแบก มะค่าโมง สมพง เป็นต้น
3. ป่าเบญจพรรณ กระจายอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีพื้นที่ร้อยละ 2 ของพื้นที่ป่าไม้ ชนิดไม้ที่สำคัญ เช่น ตะแบก ประดู่ แดง ตะเคียนหิน มะค่าแต้ มะค่าโมง เป็นต้น
4. ป่ารุ่นสอง / ไร่ร้าง / ป่าละเมาะ เป็นสภาพป่าที่ขึ้นทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกแผ้วถางและปล่อยทิ้งร้าง พบทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและด้านใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ

ทรัพยากรสัตว์ป่า
ผลการสำรวจข้อมูลภาคสนาม พบสัตว์ป่าทั้งหมด 327 ชนิด โดยมีสัตว์ป่าชนิดที่ชุกชุมมาก 14 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 2 ชนิด นก 10 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 1 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 1 ชนิด สัตว์ป่าที่ชุกชุมมาก เช่น กระรอกหลากสี นกเขาใหญ่ จิ้งจกหางแบน และกบหนอง เป็นต้น ชุกชุมปานกลาง จำนวน 68 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิด นก 48 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 7 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 5 ชนิด สัตว์ป่าที่มีความชุกชุมปานกลาง เช่น กระแตเหนือ นกแขกเต้า กิ้งก่าหัวแดง และอึ่งน้ำเต้า เป็นต้น สัตว์ป่าสวนใหญ่มีความชุกชุมน้อย มีจำนวน 245 ชนิด ประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 32 ชนิด นก 169 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 29 ชนิด และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 15 ชนิด สัตว์ที่มีความชุกชุมน้อย เช่น ลิงกัง งูลายสาบคอแดง และปลาจิ๋วลายแต้ม

การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติตาพระยา สามารถเดินทางโดยรถยนต์ คือจากกรุงเทพฯไปยังอำเภออรัญประเทศ ระยะทาง 245 กิโลเมตร แล้วใช้เส้นทาง อรัญประเทศ – นางรอง เส้นทางหลวงหมายเลข 3068 ผ่านอำเภอตาพระยา ถึงบ้านช่องเขาตะโก รวมระยะทาง 77 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติตาพระยา




Return to “ที่เที่ยวบุรีรัมย์”